อบต.กุดน้ำใส อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด

Dv188 เว็บไซต์สล็อตออนไลน์



ทำเนียบบุคลากร

ออนไลน์ : 27

หัวข้อ:: ชำระภาษีบำรุงท้องถิ่น


 หลักเกณฑ์การชำระภาษีโรงเรือนและที่ดิน  ภาษีป้าย  และภาษีบำรุงท้องที่

ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
     ภาษีโรงเรือนและที่ดิน  คือ  ภาษีที่จัดเก็บจากโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอื่นๆกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างนั้นๆ
และในปีที่ผ่านมาได้มีการใช้ประโยชน์ในทรัพย์สินนั้น  เช่น  ให้เช่า, ทำการค้าขาย ,โกดัง หรือเพื่อใช้ประกอบกิจการอื่นๆเพื่อหารายได้                      
-  อัตราการคิดภาษีโรงเรือนและที่ดินให้ผู้รับประเมินชำระภาษีปีละครั้งตามค่ารายปีของทรัพย์สิน  คือ  โรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นกับที่ดินซึ่งใช้ต่อเนื่องกับโรงเรือนหรือสิ่งปลูกสร้างอย่างอื่นนั้น  ในอัตราร้อยละสิบสองครึ่งของค่ารายปี
   ค่ารายปี  คือ  จำนวนเงินซึ่งทรัพย์สินนั้นสมควรให้เช่าได้ในปีหนึ่งๆ

ค่าภาษี  =    ค่ารายปี   x เดือนที่ประกอบกิจการ X  12.5%

  เช่น  1.    ร้านค้า ,โกดัง  ค่ารายปีคิดจากพื้นที่ที่วางสินค้า  หรือประกอบกิจการ
         2.   บ้านเช่า  ค่ารายปีคิดจากราคาค่าเช่า

 -  ขั้นตอนการชำระภาษี
1.  ให้ผู้รับประเมินไปรับแบบพิมพ์  และยื่นแบบแจ้งรายการเพื่อเสียภาษีโรงเรือนและที่ดิน(ภ.ร.ด.2)  ณ  งานจัดเก็บและพัฒนารายได้
ของ อปท.  ภายในเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี
2.  พนักงานเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบความถูกต้องของรายการที่ยื่นแบบตาม(1)  และประเมินภาษีพร้อมทั้งแจ้งรายการประเมินภาษี (ภ.ร.ด.8)
 ไปยังผู้รับประเมิน
3.  ผู้รับประเมินจะต้องชำระภาษีภายในกำหนด  30  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน                               

-  การอุทธรณ์ภาษีโรงเรือนและที่ดิน
   หากผู้รับประเมินไม่พอใจการประเมินของพนักงานเจ้าหน้าที่  ให้ยื่นคำร้องขอพิจารณาการประเมินใหม่  ต่อคณะผู้บริหารภายใน
 15  วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

 ภาษีป้าย
     ป้าย หมายความว่า ป้ายแสดงชื่อ ยี่ห้อ หรือเครื่องหมายที่ใช้ในการประกอบการค้าหรือประกอบกิจการอื่นเพื่อหารายได้หรือโฆษณาการค้า
หรือกิจการอื่นเพื่อหารายได้  ไม่ว่าจะได้แสดงหรือโฆษณาไว้ที่วัตถุใด ๆ ด้วยอักษร ภาพ หรือเครื่องหมายที่เขียน แกะสลัก จารึกหรือทำให้ปรากฏด้วยวิธีอื่น ให้เจ้าของป้ายมีหน้าที่เสียภาษีป้ายโดยเสียเป็นรายปียกเว้นป้ายที่เริ่มติดตั้งหรือแสดงในปีแรกให้เสียภาษีป้ายตั้งแต่วันเริ่มติดตั้งหรือแสดงจนถึงวันสิ้นปีและให้คิดภาษีป้ายเป็นรายงวด งวดละสามเดือนของปี โดยเริ่มเสียภาษีป้ายตั้งแต่งวดที่ติดตั้งป้ายจนถึงงวดสุดท้ายของปีทั้งนี้  

-  อัตราการคิดภาษีป้าย

1.       ป้ายที่มีอักษรไทยล้วน  ให้คิดอัตรา  3  บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
2.       ป้ายที่มีอักษรไทยปนกับอักษรต่างประเทศและปนกับภาพ  และหรือเครื่องหมายอื่น  ให้คิดอัตรา  20  บาทต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
3.       ป้ายที่ไม่มีอักษรไทย  ไม่ว่าจะมีภาพหรือเครื่องหมายอื่นใดหรือไม่  กับป้ายที่มีอักษรไทยบางส่วนหรือทั้งหมดอยู่ใต้หรือต่ำกว่าอักษรต่างประเทศ  ให้คิดอัตรา  40  บาท  ต่อห้าร้อยตารางเซนติเมตร
                                **  ถ้าเศษเกินกึ่งหนึ่งของห้าร้อยตารางเซนติเมตร  ให้นับเป็นห้าร้อยตารางเซนติเมตร
                                **  ถ้ามีอัตราที่ต้องเสียภาษีต่ำกว่าป้ายละ  200 บาท  ให้เสียภาษีป้ายละ  200  บาท

-  ขั้นตอนการชำระภาษีป้าย

1.       พนักงานเจ้าหน้าที่จะประกาศให้เจ้าของป้ายมายื่นแบบแสดงรายการเพื่อชำระภาษีป้าย  (ภ.ป.1)
2.       ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายในเดือนมีนาคมของทุกปี  ณ งานจัดเก็บและพัฒนารายได้  ของ อปท.
3.       ในกรณีติดตั้งป้ายใหม่หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขป้ายเดิม  ให้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีป้ายภายใน  15  วัน  นับตั้งแต่วันที่ติดตั้ง
          หรือเปลี่ยนแปลงแก้ไข
4.       กรณีโอนป้าย  ให้ผู้รับโอนแจ้งการรับโอนป้ายภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับโอน
5.       พนักงานเจ้าหน้าที่ตรวจ  และประเมินภาษีป้าย
6.       เจ้าของป้ายจะต้องไปชำระภาษีภายใน  15  วัน  นับแต่วันที่ได้รับแจ้งการประเมิน

-  การอุทธรณ์การประเมินภาษี

หากผู้รับประเมินเห็นว่าการประเมินไม่ถูกต้องมีสิทธิอุทธรณ์การประเมินต่อผู้บริหารท้องถิ่น  หรือผู้ได้รับมอบหมาย  ภายใน  30  วัน
 นับแต่วันที่ได้รับแจ้งประเมิน
                               
ภาษีบำรุงท้องที่

       ภาษีบำรุงท้องที่  คือ  ภาษีที่จัดเก็บจากที่ดินทั้งเป็นกรรมสิทธิ์ของบุคคลหรือคณะบุคคล  ไม่ว่าจะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคล

-  อัตราการชำระภาษีบำรุงท้องที่
     ตามประกาศราคาปานกลางที่ดิน  ซึ่งทางราชการกำหนดราคามาตรฐานประเมินภาษีบำรุงท้องที่ทุก  4  ปี

-   ขั้นตอนการชำระภาษีบำรุงท้องที่

1.   ผู้เป็นเจ้าของที่ดินจะต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน (ภ.บ.ท.5) ภายในเดือนมกราคมของปีแรกที่มีการตีราคาปานกลางที่ดิน
 แบบแสดงรายการที่ยื่นไว้ใช้ได้ทุกปีในรอบระยะเวลา  4  ปี  นั้น
2.   เจ้าพนักงานประเมิน  จะประเมินและคำนวณภาษี  พร้อมทั้งแจ้งการประเมินให้เจ้าของที่ดินทราบ
3.    เจ้าของที่ดินจะต้องชำระภาษีบำรุงท้องที่ภายในเดือนเมษายนของทุกปี
4.    กรณีเป็นเจ้าของที่ดินใหม่  ต้องยื่นแบบแสดงรายการที่ดิน  (ภ.บ.ท. 5)   ภายใน  30  วัน  นับแต่วันที่เจ้าของที่ดินมีที่ดินใหม่
วันที่ : 13 กุมภาพันธ์ 58 View : 1908
รายละเอียด :  
ผู้ตอบ :  
อักขระ :